การศึกษาครั้งใหม่โดย Qualtrics เผยถึงสิ่งที่ผู้บริโภคในประเทศไทยต้องการหลังสิ้นสุดสถานการณ์ Covid-19

 พบว่าความพึงพอใจของลูกค้าในประเทศไทยสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก

 

หลังการระบาดของโรค ผู้บริโภคคาดหวังที่จะได้รับประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมมากขึ้นไม่ว่าพวกเขาจะเลือกช่องทางใดก็ตาม

 

กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย - Media OutReach - 20 พฤษภาคม 2564 - งานวิจัยโดย Qualtrics (Nasdaq: XM) ผู้ให้บริการเครื่องมือบริหารประสบการณ์ หรือ Experience Management (XM) อันดับ 1 ของโลก และผู้สร้างสรรค์หมวดหมู่ของการบริหารประสบการณ์ เผยถึงการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมและความคาดหวังของผู้บริโภคในประเทศไทย และประสบการณ์ใหม่ ๆ ที่ธุรกิจควรจัดให้มีเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคทั้งในปัจจุบันและอนาคต

 

การศึกษาครั้งใหม่จากสถาบัน Qualtrics Experience Management (XM) ในหัวข้อ "แนวโน้มผู้บริโภคในประเทศไทย ปี 2564" ได้ทำการสำรวจมุมมองของผู้บริโภค 1,000 คนในประเทศไทย การศึกษาชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่าบริษัทต่าง ๆ จะต้องปรับแผนอย่างไรเพื่อมอบประสบการณ์อันยอดเยี่ยมผ่านรูปแบบออนไลน์ ออฟไลน์ และผสานทั้งออนไลน์และออฟไลน์เพื่อดึงดูดและรักษาลูกค้าเอาไว้

 

"เราเห็นว่าความต้องการและความคาดหวังของลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทั่วทั้งโลก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หากธุรกิจจะปรับตัวและทำได้ดีในสภาพแวดล้อมใหม่นี้ พวกเขาจำเป็นต้องเข้าใจถึง 'วิธีการ' และ 'สาเหตุ' ที่อยู่เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมเหล่านี้ จากนั้น ใช้ข้อมูลนั้นเพื่อลงมือออกแบบและปรับปรุงประสบการณ์ทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์ให้กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง" Harish Agarwal, หัวหน้าฝ่ายโซลูชันและกลยุทธ์ด้านประสบการณ์ของลูกค้า (CX) ของ Qualtrics ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว

 

"งานวิจัยของเราแสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคจะไม่ย้อนกลับสู่การใช้ชีวิตแบบเดิม ๆ อีกต่อไป" Bruce Temkin หัวหน้าสถาบัน Qualtrics XM กล่าว "ผู้บริโภคได้ปรับตัวสู่สภาพแวดล้อมใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยดิจิทัล และประสบการณ์ที่พวกเขามีต่อแบรนด์ผ่านช่องทางดิจิทัลส่งผลโดยตรงต่อการตัดสินใจในการเลือกซื้อสินค้าของพวกเขา หากต้องการประสบความสำเร็จ องค์กรต่าง ๆ จำเป็นต้องเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตแทนการพยายามสร้างสิ่งที่เคยเกิดขึ้นแล้วขึ้นใหม่"

 

แนวโน้มในประเทศไทยที่สำคัญที่พบจากการศึกษา:

  • ความพึงพอใจของผู้บริโภคในประเทศไทยสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก สามในสี่ของผู้บริโภคในประเทศไทย (74%) กล่าวว่าพวกเขาพึงพอใจกับปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ของตน ขณะที่ค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 66% โดยบริษัทประกันสุขภาพ (90%) และบริการสตรีมมิง (88%) ได้รับความพึงพอใจในระดับสูงสุด ที่ได้คะแนนตามมาไม่ห่างคือธนาคารและบริการจัดส่งพัสดุ (85% ทั้งคู่)
  • ผู้บริโภคหันมาใช้บริการระบบดิจิทัล และส่วนใหญ่เลือกที่จะไม่กลับใช้บริการรูปแบบเดิม การสร้างการมีส่วนร่วมส่วนใหญ่ที่เปลี่ยนมาทำผ่านช่องทางดิจิทัลระหว่างที่เกิดโรคระบาด ทำให้เกิดการสร้างความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างพฤติกรรมที่ผู้บริโภคจะค่อย ๆ เปลี่ยนไป และพฤติกรรมที่พวกเขาจะเปลี่ยนกลับมา ซึ่งยากที่จะเกิดขึ้น
  • ○         การทำธุรกรรมและการบริการตนเอง รวมถึงการค้าปลีกและซื้อข้าวของเครื่องใช้ทางออนไลน์ การใช้บริการส่งอาหารถึงบ้าน ธนาคารออนไลน์ การติดต่อฝ่ายบริการลูกค้า การเรียนออนไลน์ และการชมเนื้อหาต่าง ๆ ผ่านบริการสตรีมมิ่ง คาดว่าจะเพิ่มขึ้น ผู้บริโภคยังกล่าวด้วยว่าพวกเขาคาดว่าจะรับคำปรึกษาทางการแพทย์ผ่านทางออนไลน์อีกด้วย
    ○         ผู้ตอบแบบสอบถามยังกล่าวด้วยว่าพวกเขาตั้งใจที่จะพบเพื่อนและครอบครัวแบบพบหน้า แม้ว่าหลายคนกล่าวว่าจะเข้าคลาสออกกำลังกายหรือบริการทางศาสนาทางออนไลน์
  • การบริการลูกค้าเป็นตัวสร้างความแตกต่างที่สำคัญ ผู้บริโภคมีความรู้เกี่ยวกับทางเลือกในการซื้อสินค้ามากกว่าก่อนหน้านี้ และองค์กรต่าง ๆ จำเป็นที่จะต้องพัฒนาคุณภาพหรือราคาของผลิตภัณฑ์และบริการให้ดีกว่าที่มีอยู่ในตลาด จากการศึกษาพบว่า 36% ของผู้บริโภคคนไทยมีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้าจากองค์กรที่ปฏิบัติต่อพวกเขาอย่างดี ซึ่งเป็นค่าที่สูงที่สุดในโลก เมื่อเปรียบเทียบปัจจัยในการตัดสินใจซื้อพบว่า ผู้บริโภค 31% ให้ความสำคัญกับคุณภาพของสินค้ามากที่สุด 25% จะเลือกซื้อจากบริษัทที่มีการตอบแทนสังคม และ 9% ให้ความสำคัญกับเรื่องราคาที่คุ้มค่า
  • ผู้บริโภคมีความคาดหวังมากขึ้นที่จะได้รับบริการที่ยอดเยี่ยมในทุกแพลตฟอร์ม องค์กรจำเป็นต้องลงทุนในเรื่องการบริการลูกค้าที่มีคุณภาพและตรงกับความต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการบริการลูกค้าแบบออนไลน์ แบบต่อหน้า หรือที่รวมทั้งสองแบบ จากการศึกษาพบว่าผู้บริโภค 26% ต้องการความช่วยเหลือในการแก้ปัญหาผ่านระบบบริการตนเอง ตามมาด้วยการขอรับความช่วยเหลือผ่านระบบแช็ตออนไลน์ 25% ผ่านทางโทรศัพท์ 21% และเดินทางไปด้วยตัวเอง 15%
  • ความพึงพอใจนำมาสู่ความไว้วางใจและการสนับสนุน ประสบการณ์ที่ดีนำมาสู่ความไว้วางใจและการสนับสนุนที่มากขึ้น ผู้บริโภคที่ได้รับประสบการณ์ที่ดีจากองค์กรในอุตสาหกรรมหลัก ๆ เช่น ระบบการศึกษา โรงพยาบาล/คลินิกทางการแพทย์ และหน่วยงานทางราชการ มีแนวโน้มที่จะไว้วางใจองค์กรเหล่านั้น และเมื่อผู้บริโภคไว้วางใจองค์กรเหล่านั้นแล้ว พวกเขามีแนวโน้มที่จะแนะนำให้กับเพื่อนและสมาชิกในครอบครัว ซึ่งช่วยดึงดูดลูกค้ารายใหม่ ๆ เข้ามา


องค์กรต่าง ๆ จะต้องเปลี่ยนและปรับตัวตามความคาดหวังของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงต่อไปในโลกหลังสิ้นสุดโรคระบาด การที่จะทำเช่นนั้นได้ องค์กรจำเป็นต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์ซึ่งจะบอกว่าผู้บริโภคต้องการและคาดหวังสิ่งใด เพื่อที่จะเข้าใจถึงความคาดหวังของลูกค้าและสามารถวางแผนสร้างประสบการณ์ที่จะดึงดูดและรักษาลูกค้าเอาไว้

 

ข้อมูลเพิ่มเติม:


เกี่ยวกับ Qualtrics

Qualtrics ผู้ให้บริการเครื่องมือบริหารประสบการณ์ หรือ Experience Management (XM) อันดับ 1 ของโลก และผู้สร้างสรรค์หมวดหมู่ของการบริหารประสบการณ์ เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการที่องค์กรต่าง ๆ ใช้ในการบริหารและยกระดับ 4 ประสบการณ์หลักของธุรกิจ ได้แก่ ลูกค้า พนักงาน ผลิตภัณฑ์ และแบรนด์ ปัจจุบันองค์กรกว่า 13,500 แห่งทั่วโลกต่างวางใจเลือกใช้ Qualtrics เพื่อรับฟัง ทำความเข้าใจ และใช้ข้อมูลประสบการณ์ (X-data™) ไม่ว่าจะเป็น ความเชื่อ อารมณ์ และเจตนา ที่จะบอกคุณว่าสิ่งต่างๆ เกิดขึ้นเพราะอะไร และจะทำอะไรกับสิ่งนั้นได้บ้าง Qualtrics XM Platform™ คือระบบที่ช่วยให้ธุรกิจดึงดูดลูกค้าไว้ได้นานขึ้นและจับจ่ายมากขึ้น ให้พนักงานมีส่วนร่วมในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่แปลกใหม่ตอบโจทย์ผู้บริโภค และสร้างแบรนด์ให้เป็นที่จดจำต่อผู้บริโภค สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดเยี่ยมชมที่ qualtrics.com

 

#Qualtrics


Qualtrics

Comments

Popular posts from this blog

Winners of Thailand FX Awards 2023

Xapo Bank Becomes The First Fully Licensed Bank To Enable USDC Deposits and Withdrawals

Media OutReach Newswire Strengthens Vietnam Distribution Network